วิธีทำกระทง

แบบที่ 1 (กลีบผกา)

วิธีทำ

1. ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ

2. พับตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาวางซ้อนให้ลดหลั่นกันไปตามภาพ ซึ่งจะนับเป็น 1 ตับ

3. นำไปติดโดยรอบที่ขอบของฐานกระทง ซึ่งเป็นต้นกล้วยตัดเป็นแว่น ความหนา 1.5 - 2 นิ้ว โดยประมาณ ทั้งนี้ปริมาณของกลีบกระทงที่ใช้จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของตัวฐาน

4. จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ

สามารถนำการพับใบตองรูปแบบนี้ไปใช้ร่วมกับการพับรูปแบบอื่นๆ ในผลงานชิ้นเดียวกันได้ตามความชอบ และความคิดดัดแปลง

ส่วนตอนที่จะนำไปลอยนั้น บางคนอาจจะตัดเล็บ และผมใส่ลงไปด้วย ตามความเชื่อว่าเป็นการขจัดสิ่งร้ายๆ ให้ออกไปจากตัวเรา หรือจะใส่เหรียญลงไปด้วย เพื่อนำมาซึ่งความมั่งคั่งตามความเชื่อก็ได้นะคะ



แบบที่ 2 (กลีบกุหลาบ)







วิธีทำ

1. ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ

2. พับเป็นกลีบกุหลาบตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาสวมเรียงกันให้มีระยะห่างพองามตามความชอบ ควรจัดให้ยอดของกลีบ และลอนของกลีบตรงเสมอเป็นแนวเดียว ซึ่งจะทำให้ผลงานออกมาดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย

3. ใช้ด้ายสีเขียวใกล้เคียงกับใบตอง หรือสีดำมาเย็บติดกันด้วยด้นถอยหลังให้เป็นแนวตรงเสมอกันโดยตลอด

4. พับกลีบใบตองแล้วเย็บต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถหุ้มขอบของฐานกระทงได้โดยรอบ ตรึงกลับใบตองกับฐานของกระทงด้วยหมุด แล้วขลิบส่วนที่เลยพ้นฐานลงมาให้เรียบร้อยเสมอกับฐาน เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายกับมงกุฏสวมศีรษะ

5. จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ

สามารถนำการพับใบตองรูปแบบนี้ไปใช้ร่วมกับการพับรูปแบบอื่นๆ ในผลงานชิ้นเดียวกันได้ตามความชอบ และความคิดดัดแปลง

ส่วนตอนที่จะนำไปลอยนั้น บางคนอาจจะตัดเล็บ และผมใส่ลงไปด้วย ตามความเชื่อว่าเป็นการขจัดสิ่งร้ายๆ ให้ออกไปจากตัวเรา หรือจะใส่เหรียญลงไปด้วย เพื่อนำมาซึ่งความมั่งคั่งตามความเชื่อก็ได้นะคะ



แบบที่ 3 (หัวขวาน)







วิธีทำ

1. ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ

2. พับตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาสวมเรียงกันให้มีระยะห่างพองามตามความชอบ เพื่อให้ผลงานออกมาดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย ควรพับแต่ละกลีบให้ได้ขนาดเท่ากันทุกจุด

3. ใช้ด้ายสีเขียวใกล้เคียงกับใบตอง หรือสีดำมาเย็บติดกันด้วยด้นถอยหลังให้เป็นแนวตรงเสมอกันโดยตลอด

4. พับกลีบใบตองแล้วเย็บต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถหุ้มขอบของฐานกระทงได้โดยรอบ ตรึงกลับใบตองกับฐานของกระทงด้วยหมุด แล้วขลิบส่วนที่เลยพ้นฐานลงมาให้เรียบร้อยเสมอกับฐาน เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายอ่างน้ำ

5. จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ





ประวัติของคอมพิวเตอร์
ดูบทความหลักที่ ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี หนึ่งในคอมพิวเตอร์ที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ในรูปเป็นเครื่องจำลองตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตตเป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าอุปกรณ์ใดจัดเป็นคอมพิวเตอร์ยุคแรก ๆ เพราะคำว่า "คอมพิวเตอร์" เองก็มีการตีความเปลี่ยนไปมาอยู่เสมอ แต่จุดเริ่มของคำนี้หมายถึงคนที่ทำหน้าที่เป็นนักคำนวณในสมัยนั้น

ช่วงปี ค.ศ. 1930 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1940 เป็นช่วงที่โลกได้มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถโปรแกรมได้และคำนวณผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพจริง แต่เป็นการยากที่จะตัดสินได้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกENIAC (Electronics Numerical Integrator and Computer) เกิดขึ้นในปี1946 และประดิษฐ์โดย จอห์น ดับลิว มอชลีย์ (John W. Mauchly) และ เจ เพรสเพอร์ เอคเกิรต (J. Prespern Eckert) ทำงานโดยใช้หลอดสุญญากาศจำนวน 18,000 หลอด มีน้ำหนัก 30 ตัน ใช้เนื้อที่ห้อง 15,000 ตารางฟุต เวลาทำงานต้องใช้กำลังไฟถึง 140 กิโลวัตต์ คำนวณในระบบเลขฐานสิบ

ค.ศ. 1941 เป็นครั้งแรกที่โลกได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer
ค.ศ. 1941 จอห์น อตานาซอฟฟ์ และ คลิฟฟอร์ด เบอร์รี ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต ได้ร่วมกันสร้าง คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี ซึ่งสามารถประมวลผลเลขฐานสอง
ค.ศ. 1944 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้ร่วมกันสร้างอีนิแอก ซึ่งใช้หลอดสูญญากาศจำนวน 20,000 หลอด เพื่อสร้างหน่วยประมวลผล และถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกสำหรับการใช้งานทั่วไป โดยมีการประมวลผลแบบทศนิยม โดยหากต้องการตั้งโปรแกรมจะต้องต่อสายเชื่อมต่อเครื่องอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด
ค.ศ. 1948 Frederic Williams และ Tom Kilburn สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ หลอดรังสีคาโทด เป็นหน่วยความจำ
ค.ศ. 1947 ถึง 1948 John Bardeen, Walter Brattain และ Wiliam Shockley สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทราสซิสเตอร์ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ
ค.ศ. 1951 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้พัฒนา UNIVAC Computer ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการขาย
ค.ศ. 1953 ไอบีเอ็ม (IBM) ออกจำหน่าย EDPM เป็นครั้งแรก และเป็นก้าวแรกของไอบีเอ็มในธุรกิจคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1954 John Backus และ IBM ร่วมกันสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ชื่อ FORTRAN ซึ่งเป็นภาษาระดับสูง (high level programming language) ภาษาแรกในประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1955 (ใช้จริง ค.ศ. 1959) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด, ธนาคารแห่งชาติอเมริกา, และ บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก ร่วมกันสร้าง ERMA และ MICR ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในธุรกิจธนาคาร
ค.ศ. 1958 Jack Kilby และ Robert Noyce เป็นผู้สร้าง Integrated Circuit หรือ ชิป(Chip) เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1962 สตีฟ รัสเซลล์ และ เอ็มไอที ได้พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกของโลกชื่อว่า "Spacewar"
ค.ศ. 1964 Douglas Engelbart เป็นผู้ประดิษฐ์เมาส์ และ ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์
ค.ศ. 1969 เป็นปีที่กำเนิด ARPAnet ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต
ค.ศ. 1970 อินเทล พัฒนาหน่วยความจำชั่วคราวของคอมพิวเตอร์หรือ RAM เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1971 Faggin, Hoff และ Mazor พัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ตัวแรกของโลกให้อินเทล (Intel)
ค.ศ. 1971 Alan Shugart และ IBM พัฒนา ฟลอปปี้ดิสก์ เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1973 Robert Metcalfe และ Xerox ได้พัฒนาระบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) สำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1975 Scelbi และ Mark-8 Altair และ IBM ร่วมกันวางจำหน่ายคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้รายย่อยเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1977 ถือกำเนิด Apple I, II และ TRS-80 และ Commodore Pet Computers ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกๆ ของโลก
ค.ศ. 1981 ไมโครซอฟท์ วางจำหนาย MS-DOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมที่สุดในช่วงนั้น
ค.ศ. 1983 บริษัทแอปเปิล ออกคอมพิวเตอร์รุ่น Apple Lisa ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ระบบ GUI
ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล วางจำหน่ายคอมพิวเตอร์รุ่น แอปเปิล แมคอินทอช ซึ่งทำให้มีการใช้คอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง
ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ วางจำหน่าย ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เป็นครั้งแรก
[แก้] ประเภทของคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

[แก้] ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน

[แก้] เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

[แก้] มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

[แก้] ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC )
ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น อาทิเช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

[แก้] การทำงานของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆเช่น ENIAC เวลาโปรแกรมต้องใช้วิธีการเปลี่ยนสายเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่ยุ่งยากมาก จึงเกิดแนวคิดว่าตัวโปรแกรมน่าจะจัดเก็บอยู่ในส่วนที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ง่าย เป็นที่มาของแนวคิดที่ทำการจัดเก็บข้อมูลต่างๆรวมถึงโปรแกรมไว้ใน หน่วยความจำ หรือ memory ทำให้คอมพิวเตอร์จะได้รับคำสั่งโดยการอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำ และการปรับเปลี่ยนโปรแกรมสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงค่าภายในหน่วยความจำ

แนวคิดข้างต้นรู้จักในชื่อว่า "Stored-Program Concept" หรือ อีกชื่อว่าสถาปัตยกรรม von Neumann โดยเข้าใจว่า J. Presper Eckert และ John William Mauchly ซึ่งเป็นนักออกแบบ ENIAC เป็นผู้คิดค้นขึ้น

แนวคิดการทำงานแบบ Stored-Program ถูกใช้เป็นแนวคิดหลักของการทำงานในคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน โดยแนวคิดนี้จะแบ่งการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็น 4 ส่วนหลักได้แก่

หน่วยประมวลผลในรูปแบบข้อมูล Binary หรือที่เรียกว่า Arithmetic-Logical Unit (ALU) เปรียบเสมือนหัวใจของคอมพิวเตอร์ หน้าที่หลักของมันคือทำการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานอันได้แก่การบวกและลบ และการทำการเปรียบเทียบข้อมูลสองข้อมูลว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่ถ้าไม่จะมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า
หน่วยความจำ หรือ Memory ใช้สำหรับเก็บข้อมูล (Data) และ คำสั่ง (Instructions) โดยข้อมูลภายในหน่วยความจำจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆเล็กๆเท่าๆกัน แต่ละส่วนมีที่อยู่ (address) เพื่อใช้เข้าถึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเอาไว้
อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต หรือ I/O Device เป็นส่วนที่ใช้นำข้อมูลจากโลกภายนอกเข้ามาภายในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาประมวลผล และเมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะนำข้อมูลที่ได้มาแสดงผลให้โลกภายนอกคอมพิวเตอร์ได้รับทราบ
หน่วยควบคุมการทำงาน หรือ Control Unit เป็นส่วนที่ใช้เชื่อมต่อแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน หน้าที่หลักๆคือทำการอ่านข้อมูลคำสั่งที่อยู่ภายในหน่วยความจำหรือที่ได้จากอุปกรณ์อินพุต ทำการแปลความหมายและส่งไปประมวลผลใน ALU จากนั้นนำผลที่ได้ไปจัดเก็บในหน่วยความจำหรืออุปกรณ์เอาต์พุต หน้าที่หลักอีกประการ คือควบคุมลำดับการทำงานของแต่ละขั้นตอนให้อยู่ในเวลาที่เหมาะสม
[แก้] หน่วยประมวลผล
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยประมวลผล จะรับคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำ โดยส่งเข้าที่ Queue Prefetch Unit จะตรวจสอบว่า ค่าใน Queue เป็นคำสั่งหรือไม่ ถ้าเป็นคำสั่งจะสั่งให้ Bus Interface Unit (BIU) ส่งค่าของคำสั่งไปที่ Decode Unit ถ้าเป็นค่าที่อยู่ (Address) ของหน่วยความจำ จะถูกส่งไปที่ Segment and Paging Unit Segment and Paging Unit จะแปลงที่อยู่ของหน่วยความจำ จากที่อยู่เสมือน (Virtual Address) ในรูปแบบของ segment : offset ให้กลายเป็นที่อยู่จริง (Physical Address) ที่ Bus Interface Unit เข้าใจ หน่วยถอดรหัส (Decode Unit) จะตรวจสอบและแยกแยะคำสั่ง แล้วแปลคำสั่ง และส่งสัญญาณควบคุมไปให้ Execution Unit ทำงานตามคำสั่งนั้นใน Execution Unit จะประกอบด้วย

Control Unit (CU) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานภายในโปรเซสเซอร์เป็นตัวสั่งงาน Unit อื่นๆตามคำสั่งที่แปลจาก Decode Unit Protection Test Unit จะป้องกันและตรวจสอบการทำงานของส่วนต่างๆ ไม่ให้ทำผิดกฏเกณฑ์ จนเกิดข้อผิดพลาดขึ้น Register จะทำหน้าที่เก็บค่าชั่วคราวก่อนและหลังการประมวลเพื่อส่งให้ส่วนอื่นๆต่อไป เป็นเหมือนกระดาษทดชัว่คราว สำหรับ ALU Arithmetic Logic Unit (ALU) เป็นส่วนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และหาค่าตรรกะของการเปรียบเทียบ

เมื่อ ALU คำนวณหรือเปรียบเทียบค่าเรียบร้อยแล้ว จะส่งไปเก็บไว้ที่ Register แล้ว Control Unit จะสั่งให้ BIU เก็บค่าผลลัพธ์ลงในหน่วยความจำ โดยแปลงที่อยู่เสมือนที่ Control Unit กำหนด ให้กลายเป็น ที่อยู่จริงของหน่วยความจำที่จะนำผลลัพธ์ไปเก็บไว้

[แก้] หน่วยความจำ
หน่วยความจำเป็นพื้นที่การทำงานและเป็นพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามลำพังโดยอาศัยเพียงหน่วยประมวลผลหลักได้ หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ หน่วยความจำชั่วคราว หรือ หน่วยความจำสำรอง คือ แรม (RAM: Random Access Memory) โดยแรมจะเป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน และจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง อีกชนิดหนึ่งคือหน่วยความจำถาวร หรือหน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง

[แก้] ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีประโยชน์กับเรามากมาย เช่น

การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน
การใช้งานทางด้านธุรกิจทั่วไป งานทำบัญชี รายการซื้อขาย งานเรียบเรียงเอกสาร งานประมวลคำ
งานสายการบิน การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร
ทางด้านการศึกษา สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก การทำธุรกิจแบบพานิชอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจธนาคาร ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ
วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ
[แก้] อ้างอิง
^ Government unveils world's fastest computer จากซีเอ็นเอ็น
^ ศัพท์ที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติและไม่ได้บัญญัติ (๒) โดย รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ
^ ศัพท์วิทยาศาสตร์ราชมงคล

คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
คอมพิวเตอร์ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิทยาการคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศ
สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ

ใครเป็นผู้สร้างคอมพิวเตอร์

จริง ๆ แล้วคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรชนิดหนึ่งครับ ตามนิยามแล้วเครื่องจักรไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องกลหรอก จะเป็นเครื่องเคราอย่างอื่นก็ได้ ตามแต่มนุษย์จะสามารถประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา
คอมพิวเตอร์ถือเป็นเครื่องจักรที่ถูกผูกขาดโดยผู้ทรงความรู้ทางด้าน “วิทยาศาสตร์” และ “วิศวกรรมศาสตร์” เพราะนอกจากผู้ทรงความรู้ในสองศาสตร์ที่กล่าวถึงแล้ว ก็ไม่มีศาสตร์ใดเลยที่จะสามารถสร้างคอมพิวเตอร์ได้
ในยุคแรก คอมพิวเตอร์ถูกสร้างโดยผู้ทรงความรู้ในบางสาขาของ “วิทยาศาสตร์” และ “วิศวกรรมศาสตร์”
ในยุคถัดมาผู้เล่นถูกเปลี่ยนไป สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ถูกผูกขาดในการออกแบบและจัดสร้างโดยผู้ทรงความรู้ในสาขาอื่น แต่ก็ยังเป็นสาขาของ “วิทยาศาสตร์” และ “วิศวกรรมศาสตร์” อยู่ดี
ล่าสุดผมได้อ่านข่าวมาจากหลายแหล่ง ทั้งของไทยและของเทศ แล้วทำให้ผมสยิวกิ้วยิ่งนัก เนื่องจากตอนนี้ผู้ทรงความรู้กำลังจะควบคุมเซลของสิ่งมีชีวิตเซลเดียว โดยการไปตัดแต่งพันธุกรรมของมัน เพื่อให้มันทำตัวเป็นหน่วยเล็ก ๆ ที่ใช้ประกอบกัน เพื่อจะได้กลายเป็นหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งถ้ามันเป็นแบบนั้นจริง ๆ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในยุคหน้า คงจะตกไปอยู่ในมือของผู้ทรงความรู้ในอีกสาขาเป็นแน่แท้
ผมยังจำได้ว่าเมื่อราว 20 ปีก่อน ผมเคยได้รู้ข่าวที่ชาวอิสราเอลสามารถตัดแต่งพันธุกรรม แล้วสร้างพืชแปลก ๆ ที่ให้ผลแปลก ๆ ออกมาได้ เช่น ต้นมะพร้าวเตี้ยติดดิน, แตงโมไม่มีเมล็ด, มะเขือเทศใหญ่เท่าแตงโม เป็นต้น ตอนนั้นผมยังหัวเราะหึ ๆ แล้วคิดว่ามันแปลกดี แต่ไม่นึกเลยว่าเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมานี้เอง ไอ้สิ่งที่ผมเห็นว่ามันเป็นของแปลกเมื่อ 20 ปีก่อน มันกลับถูกนำมาใช้จริงในพืชพาณิชย์แบบทุกวันนี้

แร่ธาตุเกิดจากอะไร

แร่ธาตุเกิดจากอะไร
แร่ คือ ธาตุแท้ หรือสารบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีส่วนประกอบทางเคมีและมีรูปผลึกที่แน่นอน จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณชนิดของแร่ เราสามารถแบ่งแร่ออกเป็น 3 ชนิด คือ แร่โลหะ แร่อโลหะ และแร่เชื้อเพลิง
1) แร่โลหะคือ แร่ที่นำมาถลุงก่อน แล้วจึงนำไปใช้ประโยชน์ แร่โลหะที่สำคัญ ได้แก่(1) ดีบุก เป็นแร่ที่อยู่ในหินแข็งจำพวกหินแกรนิต มีลักษณะเป็นผลึกแต่อาจเป็นก้อนผิวเป็น เส้นๆ คล้ายไม้ ถ้าบริสุทธิ์จะมีสีคล้ายน้ำผึ้ง ถ้าไม่บริสุทธิ์จะมีสีน้ำตาลหรือดำ นิยมนำมาทำโลหะผสม ทำภาชนะจำพวกปีบ กระป๋อง นำมาใช้เคลือบหรือชุบแผ่นเหล็ก ทำโลหะบัดกรี ทำเป็นแผ่นสำหรับห่ออาหาร บุหรี่ (2) วุลแฟรม มีลักษณะเป็นแผ่นหรือแท่งมีสีน้ำตาลแก่หรือดำ เมื่อถลุงแล้วเรียกว่า “ทังสเตน”มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดีจึงนิยมนำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ทำเครื่องเจาะ ตัดและกลึงโลหะ (3) เหล็ก มีสีน้ำตาลปนแดงหรือสีดำ มีความมันวาวแบบโลหะ เป็นแร่ที่มีความสำคัญมากที่สุด นิยมใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องมือ เครื่องจักรกลต่างๆ และอาวุธ (4) ตะกั่ว มีลักษณะเป็นเกล็ด เม็ด บางทีเป็นผลึกรูปลูกเต๋า มีสีเทาแก่ออกดำ นิยมนำมาทำลูกกระสุนปืน ทำตัวพิมพ์ ทำโลหะบัดกรี แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นต้น (5) ทองแดง มีลักษณะเป็นของแข็งสีแดง เนื้ออ่อนบุให้เป็นแผ่นยางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่ายเราใช้ทองแดงมากเป็นอันดับสองรองจากเหล็ก โดยใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือเครื่องใช้ ต่างๆ 2) แร่อโลหะ คือ แร่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องถลุงแร่อโลหะที่สำคัญได้แก่(1) ยิปซัม เป็นแร่ที่เกิดขึ้นเป็นชั้นหนา ลักษณะคล้ายหินปูน มีสีขาว ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ ชอล์ก(2) เกลือแกง มี 2 ชนิด คือเกลือสินเธาว์ หรือเกลือหิน ซึ่งเป็นเกลือที่ได้จากดินเค็มและเกลือสมุทรซึ่งได้จากน้ำทะเล(3) แร่รัตนชาติ ได้แก่ พวกพลอยต่างๆ ส่วนมากจะพบในลานดินที่เกิดจากการผุพังของหินบะซอลต์แร่เชื้อเพลิง คือ แร่ที่ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง แร่เชื้อเพลิงที่สำคัญ ได้แก่ ลิกไนต์ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติประโยชน์ของแร่่1) ใช้ในกิจการอุตสาหกรรม 2) ใช้ทำเครื่องใช้ เครื่องประดับต่างๆ 3) ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน
4) ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนและพลังงานตลอดจนนำมาสร้างเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ
แนวทางการอนุรักษ์แรj 1) ขุดแร่มาใช้เมื่อมีโอกาสเหมาะสม 2) หาวิธีใช้แร่ให้มีประสิทธิภาพและได้ผลคุ้มค่ามากที่สุด3) ใช้แร่อย่างประหยัด4) ใช้วัสดุหรือสิ่งอื่นแทนสิ่งที่จะต้องทำจากแร่ธาตุ5) นำทรัพยากรแร่กลับมาใช้ใหม่ เช่น นำเศษเหล็ก เศษอลูมิเนียม เอามาหลอมใช้ใหม่ เป็นต้น

หินเกิดจากอะไร

เกิดอะไรขึ้นเมื่อหินกระทบนำ

เกิดอะไรขึ้นเมื่อหินกระทบน้ำ
บางคนอาจจะคิดว่าก้อนหินตกลงน้ำนั้นเป็นเรื่องธรรมดาไม่น่าสนใจ แต่ได้มีนักวิจัยของ
มูลนิธิที่ทำการวิจัยเบื้องต้นของสสารอย่าง FOM (Foundation for Fundamental Research on Matter) จากมหาวิทยาลัย Twente ในประเทศเนเธอร์แลนด์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Seville ในประเทศสเปนได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่หินตกลงไปในน้ำ โดยได้ทำการอธิบายรูปแบบและลักษณะของน้ำที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเมื่อก้อนหินตกลงไปด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในการศึกษาจะมุ่งไปยังช่วงเวลาที่วัตถุหรือก้อนหินตกกระทบไปบนผิวน้ำ พวกเขาได้สังเกตสิ่งที่เกิดขั้นโดยใช้กล้องที่มีความสามารถในการจับภาพเคลื่อนไหวที่มีความเร็วสูงมากและใช้คอมพิวเตอร์จำลองรูปแบบลักษณะที่เกิดขึ้น
งานวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นลำน้ำที่พุ่งไปข้างหน้าเป็นชั้นๆ ลักษณะเหมือนเป็นคลื่นน้ำเล็กๆกระจายตัวออกไป ซึ่งเกิดจากแรงดันของน้ำที่อยู่โดยรอบ โดยแบบจำลองที่ถูกสร้างขึ้นมานี้มีความใกล้เคียงกับความจริงมาก พวกเขายังได้คิดค้นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากการทดลองนี้และยังสามารถที่จะอธิบายลักษณะของลำน้ำที่เกิดขึ้น ผลจากการวิจัยนี้ไม่ได้มีความสำคัญแต่ในด้านวิชาการเท่านั้น เนื่องจากข้อมูลและทฤษฏีบทที่ได้นั้นยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆอีกด้วย ซึ่งลำน้ำที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทบกันของวัตถุอื่นๆบนผิวน้ำเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทั้งในธรรมชาติและในอุตสาหกรรมต่างๆ
ถ้ามีหินก้อนหนึ่งตกลงไปบนน้ำด้วยความเร็ว จะเกิดลำน้ำหรือคลื่นน้ำเล็กๆพุ่งขึ้นมาโดยจะปรากฏในช่วงเวลาสั้นๆ และรวดเร็ว ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นให้เห็นเสมอ ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ที่เรามองเห็นเท่านั้น ถ้าเราใช้กล้องที่มีความเร็วสูง จะทำให้เราเห็นการเคลื่อนที่ในทิศทางลงไปของวัตถุสวนทางกับการเคลื่อนที่ขึ้นมาของลำน้ำ และบริเวณทิศทางด้านหลังของวัตถุที่เคลื่อนนั้นจะเกิดช่องว่างระหว่างการกระทบกันของวัตถุและผิวน้ำในช่วงระยะเวลาสั้นมากๆ ก่อนที่น้ำจะไหลมาบรรจบกัน
ช่องว่างที่เกิดขึ้นนี้จะถูกกดด้วยแรงดันของน้ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีรูปแบบเหมือนกับลำน้ำโดยลักษณะการดันของแรงดันน้ำมีลักษณะคล้ายกับการที่ยาสีฟันถูกบีบออกมาจากหลอดนั่นเอง ลักษณะการกระทบที่ปรากฏจะขึ้นอยู่กับชนิดของสสาร
เพื่อสังเกตลักษณะการเกิดเหตุการณ์ได้ละเอียดมากขึ้นนักวิจัยได้วาดภาพที่มีลักษณะคล้ายๆวงกลมบนผิวน้ำ โดยใช้มอเตอร์กระแสตรงที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมด้วยความเร็วคงที่ และใช้กล้องความเร็วสูงจับภาพที่เกิดขึ้นซึ่งกล้องสามารถจับภาพด้วยความเร็วถึง 30,000 ภาพต่อวินาที
การจำลองรูปแบบที่เกิดขึ้นนี้มีความใกล้กับการทดลองที่เกิดจากการทดสอบจริงมาก นักวิจัยสามารถศึกษารูปแบบการไหลของน้ำที่เกิดขึ้นนั่นก็คือลักษณะลำน้ำที่พุ่งไปข้างหน้าเป็นชั้นๆ ทะลุผ่านกำแพงน้ำ โดยนักวิจัยได้นำเสนอทฤษฎีที่จะสามารถอธิบาย ความเร็วมหาศาลที่เกิดขึ้นของลำน้ำบนพื้นฐานจากการสังเกตได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาตร์
ธนัช

นาดนเทคโนโลยี

เทคโนโลยี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสำรวจอวกาศ เทคโนโลยีที่เป็นที่สนใจในศตวรรษปัจจุบัน
เทคโนโลยี มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ หรือเรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรม

ความหมาย
เทคโนโลยี คือ การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์
คำว่า เทคโนโลยี ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่า เป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น
คำว่า “เทคโนโลยี” มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็น เทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มของประชากร และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นปัจจัยด้านเหตุสำคัญในการนำและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับประเทศตะวันตก ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยหลักสำคัญคือ ความรู้ทาง ิทยาศาสตร์คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น (Why) เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจนเป็นต้น

ล้อ เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาตั้งแต่ยุคโบราณ
ส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้
เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก

วิทยาการและความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เป็นที่สนใจของคนทุกมุมโลกทุกสาขา เทคโนโลยีจึงเป็นที่แพร่หลายและถูกนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานและดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนการศึกษาในสมัยนี้จึงมีหลักสูตรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเข้าไปด้วย หากถามว่าเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุดและคนทั้งโลกให้ความสำคัญมากที่สุดคงปฏิเสทไม่ได้ว่าคือเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรารู้จักกันดีคือคอมพิวเตอร์เพราะปัจจุบันนี้เรามองไปทางไหนก็น่าจะมีอะไรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศไปหมด ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ มือถือ อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์เตอร์ PDA GPS ดาวเทียม ก็ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศ และไม่นานมานี้ได้มีการออก พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นการบ่งบอกว่าสังคมให้ความสำคัญแก่คอมพิวเตอร์

ประโยชน์ ของพลังงานและแหล่งนำมาใช้เอง

สำหรับรูปแบบของการนำพลังน้ำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า สามารถแบ่งตามแหล่งผลิตไฟฟ้าได้ดังนี้
1. โรงไฟฟ้าพลังน้ำ คือ โรงไฟฟ้าที่ใช้แรงดันของน้ำจากเขื่อน อ่างเก็บน้ำหรือน้ำจาก ลำห้วยที่สูง ๆ ไปหมุนเครื่องกังหัน เพื่อเปลี่ยนแรงดันเป็นพลังงานที่ควบคุมได้และใช้พลังงานกลที่ได้นี้ไปหมุนเครื่องผลิตไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
2. โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ( พลังไอน้ำ ) คือ โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานความร้อนเป็นกำลังในการผลิตไฟฟ้า โดยการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อต้มน้ำ ให้กลายเป็นไอน้ำที่มีแรงดันสูง ไปขับดันเครื่องกังหันไอน้ำแล้วฉุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตลอดเวลาเป็นระยะเวลานานก่อนการหยุดเครื่องแต่ละครั้ง
พลังงานแสงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานของโลกที่สำคัญที่สุด พลังงานที่โลกได้รับจากแสงอาทิตย์โดยตรง คือ พลังงานความร้อน และพลังงานแสงสว่าง พลังงานความร้อนจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศ และน้ำเป็นผลทำให้เกิด ลม คลื่น ฝน ซึ่งกลายเป็นแหล่งพลังงานที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ สำหรับพลังงานแสงสว่างนั้นสิ่งที่มีชีวิตจำพวกพืชสีเขียว จะได้รับประโยชน์ในการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชเจริญเติบโต โดยพลังงานแสงจะเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีและสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อตามส่วนต่าง ๆ ของพืชนั่นเองในลักษณะของห่วงโซ่อาหาร และเมื่อพืชและสัตว์ตายลงก็จะเกิดการเน่าเปื่อยผุพังทับถมกันนับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี จนกลายเป็นแหล่งพลังงาน ซากสัตว์ คือ ฟอสซิล อันได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติต่าง ๆ เดิมเราใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ตามสภาพธรรมชาติ เช่น ใช้ในการทำเกลือนอกจากนั้นก็ใช้ในการอบหรือตากผลิตผลทางการเกษตร เช่น การทำเนื้อแห้ง ปลาแห้ง ผลไม้แห้ง และการตากข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัย เพื่อที่จะพัฒนาเอาพลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้ โดยการสร้างแผงสำหรับความร้อนหรือเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า ( เซลล์แสงอาทิตย์ ) เพื่อนำไปใช้ในการสูบน้ำ ไฟฟ้าแสงสว่าง โทรทัศน์ เป็นต้น สำหรับชนบทและที่อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในการทดลอง ทั้งนี้เพื่อหาทางทดแทนพลังงานประเภทที่ใช้แล้วหมดไป ในอนาคต
2. พลังงานประเภทที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ฯลฯ
ก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติ เป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่เกิดจากการสลายตัวของซากชีวะภายใต้การทับถมที่มีความร้อนสูงเป็นเวลาหลายล้านล้านปีโดยปกติจะถูกกักเก็บอยู่ในบริเวณชั้นหินปูน ( lime stone ) ซึ่งอยู่เหนือแหล่งของน้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติที่สูบขึ้นมามักจะถูกทำให้อยู่ในรูปของของเหลว เพื่อความสะดวกในการขนส่งก๊าซธรรมชาติที่สูบขึ้นมาได้สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้โดยตลอด หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ถ่านหิน
ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงซากชีวะที่อยู่สถานะของแข็ง สันนิษฐานว่าเกิดจากซากพืชที่ขึ้นอยู่ตามที่ชื้นแฉะเช่น หนองบึง ครั้นเมื่อพืชเหล่านั้นตายลงก็จะทับถมกันอยู่ และเกิดการเปลี่ยนแปลงสลายตัวแบบไม่ใช้ออกซิเจนอย่างช้า ๆ โดยบักเตรี ( bacteria ) ซึ่งจะเปลี่ยนสารเซลลูโลส ( cellulose ) ไปเป็นลิกนิน ( lignin ) ประจวบกับมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการทับถมกัน ทำให้การสลายตัวหยุดลง จากการถูกทับถมกันเป็นเวลานาน ๆ ภายใต้ความดันสูง ทำให้น้ำและสารระเหย ( volatile ) ถูกขจัดออกไป ถึงตอนนี้อะตอมไฮโดรเจนจะรวมตัวกับอะตอมคาร์บอนเกิดเป็นสารประกอบไฮโดร์คาร์บอนขึ้นมา
การจำแนกถ่านหิน
ถ่านหินในที่ต่าง ๆ จะมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์แตกต่างกันตามธรรมชาติของการเกิดอันได้แก่ พรรณพืชเริ่มต้น สภาพทางภูมิศาสตร์และธรณีวิทยา ตลอดจนระยะเวลาที่ถูกทับถมซึ่งประการหลังมีบทบาทมากที่สุด ระยะเวลาที่ถูกทับถมหลังจากการตายของพืชจะมีผลต่อเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนในถ่านหิน คือยิ่งถูกทับถมเป็นเวลานาน ๆ เปอร์เซนต์ของคาร์บอนในถ่านหินก็ยิ่งมาก ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพและการให้พลังงานด้วย ดังนั้นถ่านหินจึงถูกจำแนกออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามอายุการเกิดและคุณภาพ คือ
1. พีท ( peat ) เป็นวิวัฒนาการเกิดถ่านหินขึ้นแรก ที่เพิ่งเปลี่ยนสภาพมาจากไม้ โดย ยังปรากฎให้เห็นร่องรอยของเนื้อไม้อยู่มาก มีสีน้ำตาลมีลักษณะพรุนและอ่อนนุ่ม ให้ค่าความร้อนน้อย เมื่อติดไปจะให้ควันมากเนื่องจากมีสารระเหยปนอยู่มาก โดยมากจะใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงจักรผลิตไฟฟ้า
2. ลิกไนต์ ( lignite ) เป็นวิวัฒนาการการเกิดถ่านหินขั้นที่ 2 ที่เปลี่ยนสภาพมาจาก พีท แต่ก็ยังมีคุณสมบัติทางเคมีไม่ต่างไปจากพีทมากนัก จัดได้ว่าเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพต่ำมีลักษณะอ่อนแต่ไม่พรุน มีสีต่าง ๆ กันตั้งแต่น้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ ให้ค่าความร้อนที่ต่ำ ไม่สามารถขนส่งเป็นระยะทางไกล ๆ หรือกองเก็บเป็นเวลานานได้ เพราะถ่านหินสามารถเกิดการติดไฟขึ้นมาเองได้ ( spontaneous combustion ) การนำมาใช้ประโยชน์ค่อนข้างมีขีดจำกัด นอกจากใช้เป็นเชื้อเพลิงในการบ่มใบยาสูบแล้ว ปัจจุบันใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเท่านั้น เนื่องจากเมื่อนำลิกไนต์มาเผาเป็นเลื้อเพลิงแล้วจะก่อให้เกิดก๊าซหลายชนิดที่เป็นมลพิษ คือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ฝุ่นและเถ้าเบา ไฮโดรคาร์บอน ( ควันดำ ) คาร์บอนมอนอกไซด์ ระบบการเผาไหม้ที่เป็นสากลจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ดักหรือจับก๊าซพิษนี้ไว้และต้องมีอุปกรณ์ดักฝุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อลดปริมาณฝุ่นที่จะปล่อยสู่บรรยากาศให้อยุ่ภายในมาตรฐานที่กำหนดแหล่งลิกไนต์ที่สำคัญ ได้แก่ อ. แม่เมาะ จ. ลำปาง จ. กระบี่ และที่ อ. ลี้ จ. ลำพูน
3. บิทูมินัส ( bituminous ) เป็นวิวัฒนาการการเกิดถ่านหินขั้นที่ 3 ที่เปลี่ยนสภาพมาจากลิกไนต์ เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพสูง เผาไหม้ให้เปลวไฟสีเหลือง มีควันน้อย มีเถ้าต่ำให้ค่าความร้อนสูงกว่า ถ่านลิกไนต์เนื้อถ่านมีสีดำเป็นมันเงาไม่มีร่องรอยของเนื้อไม้ปรากฎให้เห็น เหมาะสำหรับนำไปใช้ผลิตถ่านโค๊ก เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรม นิยมใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม
4. แอนทราไซด์ ( anthracite ) เป็นวิวัฒนาการการเกิดถ่านหินขั้นสูงสุดที่เปลี่ยนสภาพมากจากบิทูมินัสเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพดีที่สุด มีสีดำเป็นมันวาว มีความแข็งมาก ติดไฟยาก ใช้ระยะเวลาในการเผาไหม้เป็นเวลานาน เวลาเผาไหม้ให้เปลวไฟสีฟ้า ให้ความร้อนสูง มีควันน้อยมากหรือเกือบไม่มีเลย
หินน้ำมัน
หินน้ำมัน เกิดตามแหล่งที่ดึกดำบรรพ์เคยเป็นทะเลสาปมาก่อน แล้วกลับตื้นเขินขึ้น เพราะมีสัตว์และพืชตายทับถมจมอยู่ ซากสัตว์และพืชประกอบด้วยสารอินทรีย์เป็นส่วนใหญ่เมื่อผสมกับหิน ดิน ทราย และถูกอัดแน่นเป็นเวลานานล้าน ๆ ปี ก็กลายเป็นหินน้ำมันขึ้นมา หินน้ำมันมีลักษณะคล้ายหินชนวน มีสีดำแข็ง การนำหินน้ำมันมาใช้เป็นเชื้อเพลิง อาจจะนำมาเผาโดยตรงในเตาเผา แล้วนำลมร้อนที่ได้ไปต้มน้ำ เพื่อหมุนกังหันต่อไป หรืออาจนำหินน้ำมันมาสกัดเอาน้ำมันออกเสียก่อน แล้วจึงค่อยนำน้ำมันดิบที่ได้จากหินน้ำมันนี้ไปกลั่นลำดับส่วน จึงจะได้น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ แล้วจึงนำไปใช้ประโยชน์เป็นแหล่งพลังงานอีกทีหนึ่ง ซึ่งกรรมวิธีในการผลิตน้ำมันจากถ่านหินค่อนข้างยุ่งยากมากและได้ผลไม่คุ้มค่า จึงยังไม่นิยมผลิตน้ำมันจากหินน้ำมันมาใช้ แหล่งหินน้ำมันที่สำคัญ ได้แก่ ที่ อ. แม่สอด จ. ตาก