เรื่องของพลังงาน
คำว่า " พลังงาน " หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้งานได้โดยการทำให้วัตถุ หรือธาตุเกิดการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนรูปแบบไปได้ การที่วัตถุเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ ก็เพราะมีแรงหรือพลังงานเข้าไปกระทำพลังงานหรือความสามารถในการทำงานได้นี้ นอกจากสิ่งมีชีวิตจะใช้พลังงาน ซึ่งอยู่ในรูปของสารอาหารในการดำรงชีวิตโดยตรงแล้ว สิ่งมีชีวิตยังต้องใช้พลังงานในรูปแบบลักษณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันอีกในหลายรูปแบบ เช่น ทางด้านแสงสว่าง ความร้อน ไฟฟ้า เป็นต้นทรัพยากรพลังงานทรัพยากรพลังงาน แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ก็คือ
1. พลังงานประเภทที่เกิดทดแทนใหม่ได้ ( พลังงานหมุนเวียน ) ได้แก่ พลังงานจากฟืน และถ่าน แกลบ กากอ้อย พลังงานลม พลังงานจากชีวมวลพลังงานความร้อนใต้พิภพ
ฟืนและถ่าน
เป็นรูปแบบของพลังงานที่มนุษย์รู้จักใช้ก่อนพลังงานอย่างอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้ฟืนและถ่านเป็นพลังงานในการหุงต้มอยู่ สำหรับประเทศไทย ป่าไม้เป็นแหล่งพลังงานพื้นฐานของคนไทยการจนกระทั่งปัจจุบัน การตัดไม้จากป่ามาแปรรูปเป็นฟืนและถ่านส่วนใหญ่ใช้เพื่อหุงต้มในครัวเรือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบทอัตราการทำลายป่าในปัจจุบันชี้
ให้เห็นว่าในอนาคตถ้าหากยังไม่มีการควบคุมป้องกันการทำลายป่าหรือการปลูกป่าให้ทันกับความต้องการใช้แล้ว ก็จะทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรชนิดนี้อย่างแน่นอน
แกลบ
แกลบได้มาจากผลผลิตของข้าวที่ชาวนาปลูกกันไว้กิน สำหรับในประเทศไทยก็ยังมีการปลูกอยู่มากมายทั่วทุกภาค การนำแกลบมาใช้ทางด้านความร้อน ได้แก่ โรงสีข้าวที่ใช้หม้อไอน้ำ และใช้ฉุดเครื่องเพื่อสีข้าว ใช้ในการเผาอิฐ ใช้ในการหุงต้ม และผลิตถ่านแกลบยังมีอยู่มาก ตราบใดชาวนายังปลูกข้าวอย
ู่แหล่งพลังน้ำ
ประเทศไทยใช้พลังน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการสร้างเขื่อนเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 จนถึงปี พ.ศ. 2534 รวมทั้งสิ้น 30 เขื่อน ( ขนาด 1 MW ขึ้นไป ) พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากพลังน้ำคิดเป็นร้อยละ 9% ของหลังงานอื่น ๆ ทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศ ( ตารางที่ 1 )
ตารางที่ 1 การใช้เชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ( ร้อยละ )
สำหรับรูปแบบของการนำพลังน้ำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า สามารถแบ่งตามแหล่งผลิตไฟฟ้าได้ดังนี้
1. โรงไฟฟ้าพลังน้ำ คือ โรงไฟฟ้าที่ใช้แรงดันของน้ำจากเขื่อน อ่างเก็บน้ำหรือน้ำจาก ลำห้วยที่สูง ๆ ไปหมุนเครื่องกังหัน เพื่อเปลี่ยนแรงดันเป็นพลังงานที่ควบคุมได้และใช้พลังงานกลที่ได้นี้ไปหมุนเครื่องผลิตไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
2. โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ( พลังไอน้ำ ) คือ โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานความร้อนเป็นกำลังในการผลิตไฟฟ้า โดยการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อต้มน้ำ ให้กลายเป็นไอน้ำที่มีแรงดันสูง ไปขับดันเครื่องกังหันไอน้ำแล้วฉุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตลอดเวลาเป็นระยะเวลานานก่อนการหยุดเครื่องแต่ละครั้ง
พลังงานแสงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานของโลกที่สำคัญที่สุด พลังงานที่โลกได้รับจากแสงอาทิตย์โดยตรง คือ พลังงานความร้อน และพลังงานแสงสว่าง พลังงานความร้อนจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศ และน้ำเป็นผลทำให้เกิด ลม คลื่น ฝน ซึ่งกลายเป็นแหล่งพลังงานที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ สำหรับพลังงานแสงสว่างนั้นสิ่งที่มีชีวิตจำพวกพืชสีเขียว จะได้รับประโยชน์ในการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชเจริญเติบโต โดยพลังงานแสงจะเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีและสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อตามส่วนต่าง ๆ ของพืชนั่นเองในลักษณะของห่วงโซ่อาหาร และเมื่อพืชและสัตว์ตายลงก็จะเกิดการเน่าเปื่อยผุพังทับถมกันนับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี จนกลายเป็นแหล่งพลังงาน ซากสัตว์ คือ ฟอสซิล อันได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติต่าง ๆ เดิมเราใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ตามสภาพธรรมชาติ เช่น ใช้ในการทำเกลือนอกจากนั้นก็ใช้ในการอบหรือตากผลิตผลทางการเกษตร เช่น การทำเนื้อแห้ง ปลาแห้ง ผลไม้แห้ง และการตากข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัย เพื่อที่จะพัฒนาเอาพลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้ โดยการสร้างแผงสำหรับความร้อนหรือเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า ( เซลล์แสงอาทิตย์ ) เพื่อนำไปใช้ในการสูบน้ำ ไฟฟ้าแสงสว่าง โทรทัศน์ เป็นต้น สำหรับชนบทและที่อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในการทดลอง ทั้งนี้เพื่อหาทางทดแทนพลังงานประเภทที่ใช้แล้วหมดไป ในอนาคต
2. พลังงานประเภทที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ฯลฯ
ก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติ เป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่เกิดจากการสลายตัวของซากชีวะภายใต้การทับถมที่มีความร้อนสูงเป็นเวลาหลายล้านล้านปีโดยปกติจะถูกกักเก็บอยู่ในบริเวณชั้นหินปูน ( lime stone ) ซึ่งอยู่เหนือแหล่งของน้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติที่สูบขึ้นมามักจะถูกทำให้อยู่ในรูปของของเหลว เพื่อความสะดวกในการขนส่งก๊าซธรรมชาติที่สูบขึ้นมาได้สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้โดยตลอด หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ถ่านหิน
ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงซากชีวะที่อยู่สถานะของแข็ง สันนิษฐานว่าเกิดจากซากพืชที่ขึ้นอยู่ตามที่ชื้นแฉะเช่น หนองบึง ครั้นเมื่อพืชเหล่านั้นตายลงก็จะทับถมกันอยู่ และเกิดการเปลี่ยนแปลงสลายตัวแบบไม่ใช้ออกซิเจนอย่างช้า ๆ โดยบักเตรี ( bacteria ) ซึ่งจะเปลี่ยนสารเซลลูโลส ( cellulose ) ไปเป็นลิกนิน ( lignin ) ประจวบกับมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการทับถมกัน ทำให้การสลายตัวหยุดลง จากการถูกทับถมกันเป็นเวลานาน ๆ ภายใต้ความดันสูง ทำให้น้ำและสารระเหย ( volatile ) ถูกขจัดออกไป ถึงตอนนี้อะตอมไฮโดรเจนจะรวมตัวกับอะตอมคาร์บอนเกิดเป็นสารประกอบไฮโดร์คาร์บอนขึ้นมา